ผมว่าโค้ชสแตมป์เลือกเพลงให้คุณคิงกับน้าเหน่งผิดน่ะครับ

พอดีเจอกระทู้ http://www.pantip.com/cafe/chalermkrung/topic/C12819705/C12819705.html  จากพันทิพย์เลยแหกกฎที่ไม่เคยตั้งของตัวเองที่เคยคิดว่าจะโพสบล็อกแค่ 1 ครั้งต่อวัน แต่อันนี้มันฮาจริงๆ จั่วหัวล่อเป้าเข้าไปคิดว่าจะเจอมาม่า กลับเจอคลิปนี้

[media url=”http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=NdaTUMC9ZZU” width=”640″ height=”480″]

/XD

ปล. เผื่อใครไม่ทราบจริงๆ แบบหลังเขามากๆ นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ The Voice Thailand ครับ  /= =a

Miku Day!

วันนี้ไปเจอวิดีโอมา ผมคิดว่าหลายคนน่าจะรู้จักมิกุกันมาบ้างแล้ว วันนี้ขอเลือกมา 2 คลิปที่คิดว่าน่าสนใจมาก ซึ่งตรงนี้ต้องยอมรับเลยว่าคนทำคลิปนั้นเก่งมาก  แต่จริงๆ คลิปพวกนี้คนไทยก็สามารถทำได้ และใช้เวลาน้อยกว่าแต่ก่อนด้วย ขั้นตอนการทำ Animation ปัจจุบันมันลดทั้งต้นทุนและเวลา ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เอาเฉพาะกลุ่มคนทำคลิปเหล่านี้ด้วยโปรแกรม MMD เขาก็มีการใช้กล่อง Kinect (ตัวเดียวกันกับที่ติดเครื่องเกม Xbox นั้นแหละ) ทำให้การทำ Motion Capture มันง่ายขึ้น แม้จะไม่ละเอียดเท่าระดับโปรทำกัน (ระดับโปรทำคือชุดรัดรูปติดปิงปองส่องแสง 555+) แต่มันพอให้ขึ้นพื้นฐานการเคลื่อนไหวได้เยอะเลย ว่าแล้วลองดู 2 คลิปอันนี้ครับ ผมจัดว่าเป็นระดับต้นๆ ได้เลย ทำดีชนิดบาง MV ในไทยที่ใช้คนแสดงจริงๆ ยังน่าดูน้อยกว่าอีก

ผมไม่ใช่พวกคลั่งญี่ปุ่นนะครับ คนไทยก็ทำได้ เพียงแต่ที่ไม่ทำกันเพราะนักการตลาดมันจะปรามว่ามันทำกำไรไม่ได้ ผมก็จบการตลาดมาก็ยอมรับว่าคิดเหมือนกัน พอทุกอย่างจบที่เงินมันเลยไม่มีอะไรใหม่ๆ ครับ แต่อยากบอกว่าญี่ปุ่นทำงานเข้มกว่าไทยเยอะ ทำเป็นทำ เล่นเป็นเล่น

[media url=”http://www.youtube.com/watch?v=1lzYadA9K-U&feature=related” width=”853″ height=”480″] [media url=”http://www.youtube.com/watch?v=HIQAapyP2gg&feature=related” width=”853″ height=”480″]

เริ่มต้นกับ Laravel – Migrations

ช่วงนี้ผมหลงๆ ลืมไปหลายอย่างเพราะไปถอนฟันคุดมา (เจ็บมาก) T-T วันนี้นึกได้เลยมาเขียนบทความเกี่ยวกับ Laravel ซึ่งผมขอเตือนสักนิดว่าผมจะเขียนในลักษณะสำหรับคนที่เคยใช้ PHP Framework มาก่อนถึงจะเข้าใจ ดังนั้นใครไม่เข้าใจผมก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ การเขียนครั้งนี้เป็นการระบายถึงความเจ๋งของ PHP Framework ตัวนี้ และสำคัญว่าผมไม่ได้เรียนด้านสายเขียนโปรแกรมมา ศัพท์เทคนิคน่ะผมไม่ทราบหรอก แต่รู้อยู่ว่ากำลังทำอะไรแค่นั้นเอง

เริ่มต้นเวลาเราจะปล้ำกับโปรเจ็ค PHP สักตัว สิ่งแรกคือการออกแบบเว็บซึ่งจะมีอยู่ 3 ส่วนหลักๆ 1.หน้าตา 2.ระบบ 3.ฐานข้อมูล ซึ่งเรื่องพวกนี้เป็นพื้นฐานอยู่แล้วเพื่อป้องกันการมั่วในงานที่ทำ หลายคนเลือกใช้ทั้งเขียน flowchart บางคน wireframing บางคนดิบๆ ลงกระดาษก็มี บางคนบินสูงทำเป็น Digital ไปหมด

วันนี้ผมจะข้ามไปเรื่องฐานข้อมูลก่อน เพราะในงานผมทำ มักจะมาทำฐานข้อมูลก่อนเสมอ เนื่องจาก

  1. ฐานข้อมูลเป็นฐานสำคัญที่คุณออกแบบผิดปุ๊บ เมื่อแก้ที่หลังเท่ากับแก้โค้ดส่วนใหญ่ เพราะมันมักเชื่อมต่อกับ method อีกหลายตัว
  2. ฐานข้อมูลเป็นอะไรที่น่าเบื่อเมื่อต้องแก้ไข ปรับปรุง โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องมาเจอกับ phpmyadmin ทุกครั้ง ถึงแม้เราจะทำงานกับ GUI มันก็ยังน่าเบื่อที่ต้องมาคลิ๊กๆ และคลิ๊ก

แน่นอนว่าถ้าคุณใช้ Framework ตัวอื่น คุณต้องเป๊ะระดับหนึ่งเพื่อแลกกับการเหนื่อยน้อยลงในภายหลัง แต่วันนี้เราจะใช้ Laravel ซึ่งมันมีเครื่องมือตัวหนึ่งช่วยลดเวลาขั้นตอนการ PDCA ของเรา (Plan-Do-Check-Adjust)

Laravel มีเครื่องมือชื่อ Migrations ซึ่งผมสรุปความหมายมันให้สั้นที่สุดคือ Version Control ของ Database ซึ่งอธิบายง่ายๆ ว่า มันช่วยเอาโค้ด PHP ของเราที่เขียนบน Schema Builder ไปสร้างเป็นฐานข้อมูลในฐานข้อมูลให้เสร็จ แล้วเรายังสามารถจะ rollback ย้อนกลับสิ่งที่เราทำไปก็ได้ ทำให้เราลดเวลาการแก้ไขได้มากโข สำหรับผมขอบอกว่ามันครบเอามากๆ

แน่นอนบทความนี้เป็นบทความแรก เราจะมีพูดถึงตั้งแต่การติดตั้ง Laravel เลย เสียดายว่าผมลองพิมพ์ไปแล้ว 10 นาที ค้นพบว่ามันปวดตับ ผมเลยลบแล้วไม่พิมพ์มันซะเลย  /ee งานนี้สำหรับใครอ่านอังกฤษไม่เป็น แนะนำไปฝากความหวังกับ http://laravel.in.th/ ซึ่งคงจะมีบทความคลอดเร็วๆ นี้

ผมจะข้ามไปการออกแบบฐานข้อมูลเลย ก่อนอื่นที่ต้องมีคือ Laravel ที่ติดลงเครื่องเราพร้อมกับตั้งค่าฐานข้อมูลแล้ว จากนั้นเรามาเริ่มกันเลย!

เปิด cli ของเครื่องท่าน ถ้าเป็น Windows ก็ Dos ถ้าเป็น Linux ก็ Shell อะไรก็ว่าไป แล้ว CD เข้าโฟลเดอร์ Laravel ของท่าน เริ่มต้นให้พิมพ์คำสั่ง

php artisan migrate:install

เพื่อสร้างตาราง laravel_migrations สำหรับเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในการรัน migrate แต่ละครั้ง พูดชัดๆ มันคือฐานข้อมูลของ Version Control นั้นแหละ

ทีนี้ผมจะสร้างตารางมาตรฐานที่ทุกระบบมันควรมีคือตารางเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน แน่นอนว่าชื่อตารางสำคัญควรอยู่ในรูป plural หรือพหูพจน์ เพราะอนาคตสำหรับคนใช้ Laravel ถ้าไม่ได้ลองใช้ Eloquent ORM ผมว่าเสียของมากๆ ดังนั้นเราจะมาจบกันด้วยชื่อว่า users (เรื่องนี้จริงๆ ไม่ fixed เราสามารถใช้ชื่ออะไรก็ได้ เพียงแต่ต้องเพิ่มโค้ดลงส่วน Model ไป 1 บรรทัด)

ใน cli ให้พิมพ์

php artisan migrate:make users

แล้วกด Enter ถ้าเจอข้อความ Great! New migration created! ก็คือสร้างเสร็จแล้ว เราจะได้ไฟล์สำหรับใส่โค้ดของ Schema Builder ลงไป ให้เปิด โฟลเดอร์ \application\migrations  เราจะเจอไฟล์ 2012_xx_xx_xxxxxx_users.php ซึ่ง x แทนด้วยตัวเลข ซึ่งคุณอาจเดาออก มันเป็นเลขวันที่และเวลา ดังนั้นมันจะแตกต่างออกไปตามเวลาการสร้างของแต่ละคน ให้เปิดไฟล์ เราจะเจอกับหน้าตาไฟล์แบบนี้

<?php

class Users {

	/**
	 * Make changes to the database.
	 *
	 * @return void
	 */
	public function up()
	{
		//
	}

	/**
	 * Revert the changes to the database.
	 *
	 * @return void
	 */
	public function down()
	{
		//
	}

}

จะมีสอง method คือ up กับ down โดย up ใช้ใส่โค้ดสำหรับตอนเราสร้างตาราง และ down ใช้ตอนถอนตาราง แต่จริงๆ มันมีความหมายคือการขึ้นหรือลงในการคุม Version ของฐานข้อมูล แน่นอนโค้ดการใส่คุณสามารถหาอ่านได้ที่ Schema Builder ดังนั้นผมจะแปะตัวอย่างที่ผมเขียนเป็นแนวทางให้

<?php

class Users {

	/**
	 * Make changes to the database.
	 *
	 * @return void
	 */
	public function up()
	{
		//Create table
		Schema::create('users', function($table)
		{
			//Set engine
			$table->engine = 'InnoDB';

			//Create fields
			$table->increments('id');
			$table->string('username', 64);
			$table->string('password', 64);
			$table->string('email', 64);
			$table->timestamps();

			//Create index
			$table->unique('username');
			$table->unique('email');
		});
	}

	/**
	 * Revert the changes to the database.
	 *
	 * @return void
	 */
	public function down()
	{
		//Drop table
		Schema::drop('users');
	}

}

ซึ่งถ้าอ่านแล้วผมว่าน่าจะเข้าใจกันนะครับ แต่จะมีจุดสังเกตคือไม่มีคำสั่งสร้างฟิลด์ id ซึ่งนั้นเพราะการสร้างฟิลด์ id จะถูกทำโดยอัตโนมัติอยู่แล้วในกรณีไม่มีการกำหนด primary key เนื่องจากมันเป็นพื้นฐานถ้าเราจะเขียน Eloquent ORM ซึ่งย้ำกว่าควรลองเขียน นอกนั้นการกำหนด increments นี้ควรต้องใส่ เพราะ primary key ที่ไม่ increments เองก็มีนะครับ บางคนเข้าใจ primary key มันต้อง auto increments ซึ่งมันผิด ในบางเคสผมเคยเอา hash md5 เป็น primary key มาแล้ว

อีกคำสั่งที่น่าสนใจและอาจจะงงๆ คือ

$table->timestamps();

ซึ่งอันนี้จะทำให้เราสร้างฟิลด์ created_at กับ updated_at เมื่อเราใช้คู่กับ Eloquent ORM มันจะเพิ่ม timestamp เมื่อเราเพิ่ม record ใหม่ลง created_at และแก้ไข updated_at เมื่อยามที่เราแก้ไข record เมื่ออ่านอย่างนี้คุณจะจินตนาการได้เลยว่าคุณไม่ต้องมีฟิลด์ว่าสมัครสมาชิกวันไหน หรือการแก้ไขโปรไฟล์ล่าสุดวันไหน เพราะมันจัดการตรงนี้ให้เสร็จ

สุดท้ายเราได้ 1 ตารางแล้ว คุณสามารถรัน

php artisan migrate

เพื่อสั่งเพิ่มตารางลงฐานข้อมูลได้เลย และถ้าคุณไม่พอใจ อยากแก้ไขตั้งแต่ต้น ก็แค่พิมพ์

php artisan migrate:reset

ในฐานข้อมูลคุณจะกลับมาตั้งต้น ตารางที่เคยถูกเพิ่มจะโดน drop ทิ้ง ซึ่งจากเท่านี้คุณก็สามารถทำการปรับเปลี่ยนแก้ไขได้อีกหลายครั้ง และไม่ต้องจับ phpmyadmin ไปอีกนาน

จริงๆ คุณยังทำลูกเล่นกับ Schema Builder ได้อีกเยอะ เสียดายผมหมดแรงดังนั้นไว้ต่อวันหลังถ้าไม่ลืม

/bye